top of page
  • รูปภาพนักเขียนChai Ken

ประกันภ้ยคอนโด คืออะไร ทำไมต้องจ่ายด้วย?


ในวันนี้จะมาพูดถึงประกันอีกหนึ่งประเภท ก็คือ “ประกันภัยคอนโด” ที่หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไหร่ ซึ่งถือว่าเป็นที่อยู่อาศัยที่อยู่บนอาคารที่มีทั้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลที่เป็นของเราและกรรมสิทธิ์ร่วมที่เพื่อนบ้านทุกคนถือร่วมกัน ประกันภัยคอนโดคืออะไร

           ประกันภัยคอนโด สามารถแบ่งกรรมสิทธิ์ของประกันภัยคอนโดออกได้เป็น 2 ส่วน คือ กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลาง และ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล นั่นเอง เพราะว่าในการอยู่อาศัยในคอนโดจริง ๆ ตัวผู้อยู่อาศัยก็จะมีสิทธิทั้งในพื้นที่ในยูนิตของตนเองและพื้นที่ส่วนกลางด้วย ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้ประกันภัยคอนโดเกิดความซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย เดี๋ยวเรามาค่อย ๆ ดูกันไปทีละส่วน


1. กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนกลาง

          ทรัพย์สินส่วนกลาง หมายถึง โครงสร้างภายนอก รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางคอนโด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร สระว่ายน้ำ พื้นที่ดาดฟ้า ฟิตเนสภายในคอนโดเป็นต้น ซึ่งพื้นที่ส่วนกลางนี้จะอยู่ในความดูแลของนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งจะมีหน้าที่คอยดูแลความเรียบร้อย และดูแลกฎระเบียบภายในอาคารเท่านั้น


2. กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล

          กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล หมายถึง ยูนิตห้องพักอาศัย ตามที่มีระบุไว้ในโฉนดที่เราได้รับจากผู้ประกอบการเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อบแล้ว ซึ่งในโฉนดก็จะระบุ รายละเอียดของห้องพัก ขนาดของห้องพัก ความกว้างความยาว พื้นที่ใช้สอยบริเวณระเบียง และถ้าคอนโดบางแห่งที่ซื้อคอนโดและรวมถึงที่จอดรถด้วย ภายในโฉนดก็จะระบุขนาดที่จอดรถลงไปด้วยเช่นกัน


          เพราะคอนโดมิเนียมมีหลายส่วน ประกันภัยคอนโดมิเนียม ก็ต้องมีการระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะคุ้มครองและครอบคลุมถึงส่วนใดบ้าง และในการครอบคลุมแต่ละส่วนนั้นก็จะแยกออกเป็นแต่ละกรณีลงไปอีก บางส่วนครอบคลุมในเรื่องของอุบัติเหตุ บางส่วนครอบคลุมในเรื่องของวินาศภัยต่าง ๆ ส่วนในห้องพักก็อาจจะครอบคลุมเยอะกว่าพื้นที่ส่วนกลางหน่อย ตรงนี้ต้องไปดูเงื่อนไขของแบบประกันกันอีกที


ประกันอัคคีภัยที่ติดมากับการซื้อคอนโด

      โดยปกติการก่อสร้างคอนโดนั้นเจ้าของอาคารจะต้องทำประกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ประกันอัคคีภัยดังกล่าวจะให้ความคุ้มครองแก่พื้นที่ส่วนกลางในคอนโดเท่านั้น ซึ่งประกันที่คอนโดมิเนียมส่วนใหญ่นิยมทำก็มี 2 ประเภทคือ

  1. ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risks) 

  2. ประกันความรับผิดชอบต่อสาธารณชน (Public Liability)  

      แม้ว่าประกันอัคคีภัยที่คอนโดทำจะให้ความคุ้มครองพื้นที่ส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นทั้งตัวอาคารผู้ที่อาศัยภายในอาคารก็ย่อมได้รับค่าชดเชยตามความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ เราจะได้รับค่าชดเชยค่าเสียหายก็ต่อเมื่ออาคารได้รับความเสียหายทั้งตึกเท่านั้น หากเกิดความเสียหายแก่ห้องของคุณเองคุณจะไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากนิติบุคคลอาคาร ซึ่งหากคุณต้องการความคุ้มครองในส่วนนี้ คุณต้องซื้อความคุ้มครองเพิ่มให้แก่ห้องและทรัพย์สินภายในห้องเพิ่มเอง

ซื้อประกันอัคคีภัยคอนโดเองได้ไม่ซ้ำซ้อนกับนิติบุคคล

หากคุณต้องการที่จะซื้อประกันอัคคีภัยคอนโดมิเนียมเพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้แก่ห้องชุดของตัวเองก็สามารถทำได้และไม่ถือว่าเป็นการทำประกันซ้ำซ้อนแต่อย่างใด เพราะ ประกันอัคคีภัยคอนโดที่นิติบุคคลทำไว้นั้นให้ความคุ้มครองแค่พื้นที่ส่วนกลางเท่านั้น และ ไม่ให้ความคุ้มครองถึงทรัพย์สินส่วนตัวที่อยู่ภายในห้องของคุณด้วย หากคุณมีการทำประกันอัคคีภัยห้องชุดเพิ่มถือว่าคุณทำเพราะต้องการให้ทรัพย์สินต่างๆภายในห้องได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว หากคุณซื้อคอนโดโดยการกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารส่วนใหญ่จะมีการบังคับให้คุณทำประกันอัคคีภัยห้องชุดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว บางแห่งก็บังคับทำแค่ 1 ปี หรือบางแห่งก็มากกว่านั้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ธนาคารเองก็ต้องการที่จะมีหลักประกันความเสี่ยงของธนาคารให้กรณีที่เกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ค่าเบี้ยประกันคอนโดไม่แพงเลย

      โดยส่วนมาก ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยคอนโดจะถูกกำหนดโดยกรมการประกันภัย ซึ่งจะมีอัตราค่าเบี้ยประกันภัยที่ค่อนข้างถูก การทำประกันอัคคีภัยในแต่ละครั้งจะมีค่าธรรมเนียมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ แน่นอนว่าหากคุณไม่ต้องการจะซื้อประกันอัคคีภัยเพิ่มและสมัครใจที่จะมีประกันอัคคีภัยของนิติบุคคลเท่านั้นก็ได้ เพราะประกันอัคคีภัยที่นิติบุคคลของคอนโดทำไว้ก็มีการเรียกเก็บจากผู้อาศัยในคอนโดอยู่แล้ว ซึ่งในคอนโดบางแห่งจะเก็บเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นความคุ้มครองที่คุณจะได้รับอยู่แล้ว

Cr. ChaiKen , NewbBENN , thinkofliving #ซื้อประกันภัยคอนโด

#ประกันคอนโดคือ

#ประเภทประกันคอนโด

#ประกันภัยคอนโด

#ความรู้เกี่ยวกับคอนโด

ดู 4,336 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page